ใบความรู้ 2
การจัดการความเสี่ยง
การทำแผนธุรกิจ
ความหมายของแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจ คือแผนงานทางธุรกิจที่แสดงกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติในการลงทุนประกอบการ โดยมีจุดเริ่มต้นจากจะผลิตสินค้าและบริการอะไร มีกระบวนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง และผลจากการปฏิบัติออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ใช้งบประมาณและกำลังคนเท่าไร เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการแก่ลูกค้า และจะบริหารธุรกิจอย่างไรธุรกิจจึงจะอยู่รอด
(แหล่งที่มา : มาณพ ชิวธนาสุนทร, แผนธุรกิจ SMEs, สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม, 2547)
การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพ
การวิเคราะห์ชุมชน หมายถึง การนำเอาข้อมูลทั่วไปของชุมชนที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นหมู่บ้าน ตำบล หรืออำเภอก็ได้ขึ้นอยู่กับการกำหนดขอบเขตของชุมชนว่าจะนำข้อมูลของชุมชนในระดับใดมาพิจารณา โดยการจำแนกข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงประเด็นปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อจะนำมากำหนดแนวทางการขยายอาชีพให้ตอบสนองตรงกับความต้องการของคนในชุมชน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ รายได้ของประชากรต่อคน ต่อครอบครัวเป็นอย่างไรลักษณะของการประกอบอาชีพของประชากรเป็นอย่างไร รวมถึงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลด้านการตลาด แนวโน้มของความต้องการของการตลาด นโยบายของรัฐที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการผลิตหรือการประกอบอาชีพ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราวางแผนการดำเนินการพัฒนาอาชีพได้รอบคอบขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูล
โดยวิเคราะห์สภาพการภายใน ภายนอกของชุมชน โดยใช้เทคนิค SWOT (SWOT Analysis)
การศึกษาความต้องการของชุมชนเป็นการสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อให้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อย อุปสรรคหรือความเสี่ยงและโอกาสในด้านต่างๆ ของข้อมูลและความต้องการของชุมชน ทั้งนี้โดยใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์ชุมชน มีดังนี้
S (Strengths) จุดแข็งหรือจุดเด่นของชุมชน
W (Weaknesses) จุดอ่อนหรือข้อด้อยของชุมชน
O (Opportunities) โอกาสที่จะสามารถดำเนินการได้
T (Threats) อุปสรรคหรือปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของชุมชนที่ควรหลีกเลี่ยง
ในการปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์ควรพิจารณาจำแนกข้อมูลในด้านต่างๆ โดยให้สมาชิกในชุมชนหรือกลุ่มอาชีพนั้นร่วมกันช่วยวิเคราะห์ หากพบข้อมูลส่วนใดที่เป็นจุดเด่นของชุมชนหรือกลุ่มอาชีพนั้นให้ใส่ข้อมูลในช่อง S หากพบข้อมูลใดที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อด้อยของชุมชนหรือกลุ่มอาชีพให้ใส่ข้อมูลในช่อง W หากส่วนใดที่เป็นโอกาสช่องทางของชุมชน เช่น ความต้องการสินค้าของประชาชน นโยบาย หรือจุดเน้นของรัฐหรือของชุมชนที่เป็นโอกาสดีให้ใส่ในช่อง O และในขณะเดียวกันข้อมูลใดที่เป็นความเสี่ยง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย หรือความต้องการของชุมชนไม่มีหรือมีน้อย ขาดแคลนวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต เป็นต้น ให้นำข้อมูลใส่ในช่อง T ทำเช่นนี้จนครบถ้วน หากส่วนใดข้อมูลไม่ชัดเจนเพียงพอก็ต้องสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมได้ จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดทางเลือกในการพัฒนาอาชีพหรือทางเลือกในการแก้ปัญหาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ต่อไป
การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและกลยุทธ์ในการวางแผนขยายธุรกิจของชุมชน
วิสัยทัศน์ เป็นการกำหนดภาพในการประกอบอาชีพในอนาคต มุ่งหวังให้เกิดผลอย่างไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการมองเป้าหมายของธุรกิจว่าต้องการให้เกิดอะไรขึ้นข้างหน้า โดยมีขอบเขตและระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ในการกำหนดวิสัยทัศน์เป็นการนำเอาผลการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนและข้อมูลอาชีพของผู้ประกอบการ มาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นไปได้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจในที่สุด
พันธกิจ คือ ภาระงานที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ให้ได้ ผู้ประกอบการจะต้องสร้างทีมงานและกำหนดภารกิจของสถานประกอบการให้ชัดเจน ครอบคลุมทั้งด้านการผลิตและการตลาด
การวิเคราะห์พันธกิจ ของสถานประกอบการ สามารถตรวจสอบว่าพันธกิจใดควรทำก่อนหรือหลัง หรือพันธกิจใดควรดำรงอยู่หรือควรเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการและทีมงานจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อกำหนดพันธกิจหลักของสถานประกอบการ ผู้ประกอบการและทีมงานจะต้องจัดลำดับความสำคัญของพันธกิจและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายให้ได้
เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ เป้าหมายในการขยายอาชีพ คือการบอกให้ทราบว่าสถานประกอบการนั้นสามารถทำอะไรได้ภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งอาจจะกำหนดไว้เป็นระยะสั้น หรือระยะยาว 3 ปี หรือ 5 ปีก็ได้ การกำหนดเป้าหมายของการขยายอาชีพต้องมีความชัดเจนสามารถวัดและประเมินผลได้ การกำหนดเป้าหมายหากสามารถกำหนดเป็นจำนวนตัวเลขได้ก็จะยิ่งดี เพราะทำให้มีความชัดเจนจะช่วยให้การวางแผนมีคุณภาพยิ่งขึ้น และจะส่งผลในทางปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น
กลยุทธ์ในการวางแผนขยายอาชีพ เป็นการวางแผนกลยุทธ์ในการขยายอาชีพหรือธุรกิจนั้นๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้การวางแผนจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายระยะยาวให้ชัดเจน มีการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีการทำงาน วางระบบไว้ค่อนข้างสูงเพื่อให้มีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการและทีมงานสามารถพัฒนาอาชีพให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าได้ในอนาคต
ขั้นตอนกระบวนการวางแผน
ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนในการขยายธุรกิจของชุมชน มีดังนี้
1. ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติหรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
2. ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีความชัดเจนว่าจะทำเพื่ออะไร และวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีความเป็นไปได้หรือไม่ และสามารถวัดผลได้
3. ขั้นการตั้งเป้าหมาย เป็นการระบุเป้าหมายที่จะทำว่าตั้งเป้าหมายในการดำเนินการไว้จำนวนเท่าใด และสามารถวัดได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
4. ขั้นการกำหนดขั้นตอนการทำงาน เป็นการคิดไว้ก่อนว่าจะทำกิจกรรมอะไรก่อน หรือหลัง ซึ่งการกำหนดแผนกิจกรรมนี้จะทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมตามแผน ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงจะได้ผล
6. ขั้นการปรับแผนการปฏิบัติงาน ในบางครั้งแผนที่วางไว้เมื่อได้ดำเนินการไประยะหนึ่ง อาจจะทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป ผู้ประกอบการจึงควรมีการปรับแผนบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น และการดำเนินงานตามแผนจะมีประสิทธิภาพขึ้น
การวางแผนปฏิบัติการ
การวางแผนปฏิบัติการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาอาชีพ ที่มีรายละเอียดมาจากแผนกลยุทธ์ มากำหนดเป็นโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ โดยจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ โดยผู้เรียนและผู้นำชุมชนต้องช่วยกันกำหนด
2) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนต่อการประสบกับเหตุการณ์ หรือ สภาวะที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์โดยมีความน่าจะเป็น หรือโอกาสในสิ่งนั้น ๆ เป็นศูนย์ ความหมาย
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึง กระบวนการในการระบุ วิเคราะห์(en:risk analysis) ประเมิน (en:risk assessment) ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์
กับกิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือเรียกว่า อุบัติภัย (accident )
ความเสี่ยง มีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น
- ความเสี่ยงคือโอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (chance of loss)
- ความเสี่ยงคือความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (possibility of loss)
- ความเสี่ยงคือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (uncertainty of event) - ความเสี่ยงคือการคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (dispersion of actual result)
- ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความเสี่ยงนั้น ๆ จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย
ภัย peril) หมายถึง สาเหตุของความเสียหายซึ่งภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดพายุสึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยนอกจากจะเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติแล้ว ภัยนั้นยังเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย จราจล ฆาตกรรม เป็นต้น สำหรับสาเหตุสุดท้ายที่จะเกิดภัยได้นั้นคือภัยที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะภัยที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนทั้งประเทศ หรือทั้งภูมิภาคจะได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง
สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย hazard) หมายถึง สภาพเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น โดยสภาวะต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นสภาวะทางด้านกายภาพ (physical) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย เช่น ชนิดและทำเลที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง อาจเอื้อต่อการเกิดเพลิงไหม้ สภาวะทางด้านศีลธรรม (moral) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น การฉ้อโกงของพนักงาน และสภาวะด้านจิตสำนึกในการป้องกันความเสี่ยง (morale) คือ สภาวะที่ไม่ประมาทและเลินเล่อ หรือการไม่เอาใจใส่ในการป้องกันความเสี่ยง เช่น การที่พนักงานปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่ควบคุม
2.2) องค์ประกอบการจัดการความเสี่ยง
2.2.1) การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญ
อยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการจัดการความเสี่ยง
2.2.2) การประเมินผลกระทบของภัย เป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อ
องค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
2.2.3) การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย การจัดทำมาตรการตอบ
โต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนก ได้ 5 มาตรการ ดังนี้
(1) มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
(2) มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น * ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
* ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
(3) มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร
ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลามไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้
(4) มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง
(5) มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัย
หรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้
การรับมือกับภัย 5 มาตรการ
(1) การเตรียมความพร้อม ( Readiness)องค์กรต้องเตรียมความพร้อมระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีความพร้อมในการจัดทำมาตรการขจัดหรือควบคุมภัยต่าง ๆ เอาไว้ล่วงหน้า
(2) การตอบสนองอย่างฉับไว( Response)เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นระบบต้องมีสมรรถนะที่ดีพอในการตอบโต้ภัยแต่ละชนิดอย่างได้ผลและทันเวลา
(3) การช่วยเหลือกู้ภัย( Rescue)เป็นกระบวนการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินขององค์กร ที่ได้ผลและทันเวลา
(4) การกลับเข้าไปทำงาน ( Rehabilitation)เมื่ออุบัติภัยสิ้นสุดลงแล้วต้องกลับเข้าไปที่เดิมให้เร็วที่สุดเพื่อ การซ่อมแซม การเปลี่ยนใหม่ หรือการสร้างขึ้นใหม่ (rebuild) เพื่อให้อาคารสถานที่พร้อมที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ อาจรวมไปถึงการประกันภัยด้วย
(5) การกลับคืนสู่สภาวะปกติ (Resumption)องค์กรสามารถเปิดทำการ หรือ ดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติได้เสมือนว่าไม่มีอุบัติภัยมาก่อน
การตอบสนองอย่างฉับไว( Response) กับการช่วยเหลือกู้ภัย( Rescue) อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกัน เช่น กรณีเกิดอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติรวมถึง fire alarm คือขั้นตอนของการตอบสนองอย่างฉับไว(Response )แต่ไฟฉุกเฉินและเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้พนักงานสวม เพื่อหนีออกจากอาคาร เป็นขั้นตอนของ การช่วยเหลือกู้ภัย(Rescue)
2.3 การ วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจ
การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจ จะใช้ธุรกิจที่เราอยู่เป็นตัวตั้ง แล้วมองสิ่งแวดล้อมรอบธุรกิจและตัวธุรกิจเองว่า มีอะไรบ้างที่เป็นจุดสำคัญ และถ้าจุดนั้นสำคัญถึงขนาดที่เรียกว่า ถ้าเกิดผลกระทบเลวร้ายแล้วกับจุดนี้แล้ว ธุรกิจของเราอาจมีปัญหาได้ จุดนี้คือ Critical point
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง
การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงนอกจากเกิดประโยชน์กับธุรกิจแล้วยังส่งผลถึงองค์กรและลูกค้าที่มาใช้หรือขอรับบริการอีกด้วย ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้
1. สามารถสร้างเสริมความเข้าใจการดำเนินการของธุรกิจและจัดทำแผนธุรกิจที่ใกล้เคียงความเป็นจริง มากขึ้นในเรื่องการประมาณการค่าใช้จ่าย และระยะเวลาดำเนินการ
2. เพิ่มพูนความเข้าใจความเสี่ยงในธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะเกิดกับธุรกิจหากจัดการความเสี่ยงไม่เหมาะสมหรือละเลยการบริหารความเสี่ยงนั้น
3. มีอิสระในการพิจารณาความเสี่ยงของธุรกิจซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจจัดการความเสี่ยงให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ทำให้ยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น และสามารถได้ประโยชน์จากการยอมรับความเสี่ยงนั้นได้มากขึ้นด้วย
2.4 การประเมินความเสี่ยง กระบวนการประเมินความเสี่ยง มีดังต่อไปนี้
2.4.1 กำหนดความเสี่ยง โดยตรวจสอบว่าในธุรกิจของเรามีเรื่องใดที่เป็นความเสี่ยงบ้าง ซึ่งมีประเด็นต่าง ๆที่สามาถวางกรอบในการกำหนดความเสี่ยงเป็นด้าน ๆ 5 ด้าน ดังนี้
1) ด้านการตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงของสินค้า การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า อัตรา
ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนราคาหุ้น การแข่งขันทางตลาด
2) ด้านการผลิต เช่น วัตถุดิบ กำลังการผลิต ต้นทุนการผลิต เทคโนโลยี เครื่องจักร
ความปลอดภัย ความผิดพลาดในขั้นตอนการผลิต
3) ด้านการเงิน เช่น ความเปลี่ยนแปลงด้านสินเชื่อ ความเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำ
ประกันสินเชื้อ สภาพคล่อง
4) ด้านบุคลากร เช่น ความรู้ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ ความรับผิดชอบ การทุจริต
ความสามัคคี อัตราการลาออก
5)ด้าน 5 ศักยภาพ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ ทำเลที่ตั้ง ศิลปะ
วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ทรัพยากรมนุษย์
2.4.2 เมื่อสามารถกำหนดความเสี่ยงได้แล้ว ต้องประเมินอีกครั้งว่าความเสี่ยงนั้นรุนแรงระดับใด และ จัดลำดับความเสี่ยง ตามลำดับความรุนแรง
1) การประมาณระดับความรุนแรงของความเสี่ยง การประมาณระดับของความเสี่ยง
เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการแก้ไข เมื่อประเมินแล้วนำข้อมูลมาเรียงลำดับความเสี่ยง ซึ่งการประมาณความเสี่ยงดูได้จาก การเรียงลำดับของความรุนแรงของสิ่งที่จะเกิดขึ้น(ผลกระทบ) และการเรียงลำดับของโอกาสที่จะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ ดังนี้
1.1) ความรุนแรงของอันตราย ลักษณะความรุนแรง
- ระดับความรุนแรงมาก
- ระดับความรุนแรงปานกลาง
- ระดับความรุนแรงน้อย
การพิจารณาระดับความรุนแรง ระดับความรุนแรงหรือผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือคาดคะเนว่าจะเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดความรุนแรง หรือผลกระทบกับสิ่งต่าง ๆ และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านทรัพย์สิน/เงิน ด้านเวลา ด้านบุคคล ด้านลูกค้า และด้านภาพลักษณ์ แล้วพิจารณาว่าความรุนแรงอยู่ในระดับใด
1.2) โอกาสที่จะเกิดอันตราย
- โอกาสมาก
- โอกาสปานกลาง
- โอกาสน้อย
โอกาสที่จะเกิดหมายถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ที่นำมาพิจารณาเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะมีโอกาสที่จะเกิด
การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงช่วยให้เจ้าของธุรกิจ และสมาชิกทีมงานให้ความสนใจหรือเน้นการบริหารความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด
2.5 การกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยง เมื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงได้แล้ว ให้พิจารณาจุดวิกฤตแต่ละประเด็นที่เป็นความเสี่ยง ดังนี้
2.5.1 สาเหตุของการเกิดจุดวิกฤตนั้น ๆ
2.5.2 ผลกระทบของจุดวิกฤตที่จะเกิดกับธุรกิจเป็นอย่างไร
2.5.3 การเกิดจุดวิกฤตนั้นจะมีอะไรเป็นตัวบอกเหตุ
2.5.4 มีแนวโน้มว่าจะเกิดจุดวิกฤตนั้นกับธุรกิจของเรา องค์กรจะป้องกันอย่างไร
2.5.5 ถ้าจุดวิกฤตนั้นมาถึงแล้ว องค์กรจะมีมาตรการอะไรมาแก้ไข
2.6 การ ประเมินผลของมาตรการแก้ไขและป้องกัน ควรให้ทีมงานที่ทำแผนธุรกิจ วิเคราะห์ ประเด็นต่อไปนี้
2.6.1 ความเสี่ยงเรื่องใดที่เราผ่านเลยไปแล้ว และเราผ่านไปได้อย่างไร และมีมาตรการ
อะไรที่เคยใช้ได้ผล
2.6.2 ความเสี่ยงเรื่องใดที่กำลังเผชิญอยู่ และมาตรการแก้ไขที่เราใช้อยู่ มีการประเมิน
หรือไม่ว่า มาตรการแก้ไขนั้น ใช้ได้ผลหรือไม่ ถ้าใช้ไม่ได้ผลเราต้องปรับกลยุทธ์อย่างไร
2.6.3 ความเสี่ยงเรื่องใดที่กำลังจะมาถึง มาตรการป้องกันที่วางไว้ได้ลงมือทำแล้วหรือยัง
ถ้าทำแล้วเป็นอย่างไร ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่หรือไม่
2.6.4 ความเสี่ยงเรื่องใดที่ยังมาไม่ถึง องค์กรได้ศึกษาความเป็นไปได้หรือไม่ว่า มาตรการ
ป้องกันที่เตรียมไว้ จะได้ผลดีหรือไม่ หรือเคยใช้ได้ผลในองค์กรอื่น ๆ หรือไม่
2.6.5 กำหนดความถี่ในการประเมินผลมาตรการแก้ไขและป้องกันเป็นระยะ ๆ เพื่อจะ
ได้คอยปรับแผนกลยุทธ์ใหม่ เมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล
2.7 การวางแผนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Planning)
การวางแผนการบริหารความเสี่ยง มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การตัดสินใจเลือกวิธีการและแผนกิจกรรมจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ ดังนั้นกิจกรรมจะครอบคลุมและมีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินการธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่กำหนดและเพื่อให้การดำเนินการธุรกิจเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงต้องมีการวางแผนกิจกรรมบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆในการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.8 การติดตามประเมินผลการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติตามแผนบริหารความเสี่ยง และช่วยให้ทีมงานบริหารความเสี่ยงได้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับปรุงวิธีการจัดการความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงแต่ละประเภท
เปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของโลก การบริหารความเสี่ยงจึงต้องได้รับความประเมินผล และปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การประเมินผลจึงไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการบริหารความเสี่ยง แต่เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่ระบบการบริหารความเสี่ยง ที่มีความต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์
การจัดการการผลิต
ความหมายของการจัดการการผลิต การบริการ และการควบคุมคุณภาพ
การจัดการการผลิต หมายถึง กระบวนการที่ดำเนินงานผลิตสินค้าตามขั้นตอนต่างๆ อย่างต่อเนื่องและมีการประสานงานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรหรือกิจการ
การบริการ หมายถึง กระบวนการที่เน้นการให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง โดยการทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ มีความสุขและได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่
การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการและสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าบนแนวคิดพื้นฐานว่า เมื่อกระบวนการดี ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะดีตาม
การจัดการเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการผลิต
การควบคุมคุณภาพนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์หรือการบริการบรรลุจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
1. สินค้าที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตมีคุณภาพตรงตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญา
2. กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
3. การวางแผนการผลิตเป็นไปตามที่กำหนดไว้
4. การบรรจุหีบห่อดีและเหมาะสม หมายถึงสามารถนำส่งวัสดุยังจุดหมายปลายทางในสภาพดี
ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพการผลิต แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการกำหนดนโยบาย ในขั้นนี้จะเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์กว้างๆ เช่น ระดับสินค้า ขนาดของตลาด วิธีการจำหน่าย ตลอดถึงการรับประกัน ข้อกำหนดเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้นำว่ากิจการจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางเอาไว้
2. ขั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ในที่นี้ หมายถึง การกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงต้องมีความสัมพันธ์กับระบบการผลิต
3. ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพของการผลิต การควบคุมคุณภาพการผลิต
แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อย 3 ขั้น คือ การตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วน การควบคุมกระบวนการการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยในการตรวจสอบทั้ง 3 ขั้นนี้ ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้นั้นมีจำนวนมากไม่อาจจะทำการตรวจสอบได้อย่างทั่วถึงภายในเวลาจำกัด
4. ขั้นการจำหน่าย การควบคุมคุณภาพ จะมีลักษณะเป็นการให้บริการหลังการขาย ซึ่งในระบบการตลาดสมัยใหม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะสินค้าบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวิธีการใช้และการดูแลรักษาที่ค่อนข้างยุ่งยาก ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะต้องคอยดูและเพื่อให้บริการหลังการขายแก่ผู้ซื้ออยู่เสมอ เพื่อสร้างความพึงพอใจ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและความก้าวหน้าทางธุรกิจในอนาคต
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิต
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิต เป็นการพัฒนาความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ของมนุษย์ ช่วยในการแก้ปัญหาและสนองความต้องการของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี เพื่อสร้างและใช้สิ่งของเครื่องใช้ วิธีการให้การดำรงชีวิตมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้หรืออาจเป็นระบบหรือกระบวนการต่างๆ เพื่อให้การทำงานบรรลุผลเป้าหมาย
เทคโนโลยีจะมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อผู้ใช้มีการนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม และจะเกิดผลกระทบอย่างมากมาย เมื่อผู้ใช้นำเทคโนโลยีไปใช้แบบผิดๆ ด้วยความไม่รู้ หรือใช้เทคโนโลยีมากเกินกว่าความจำเป็น
กระบวนการเทคโนโลยีในการผลิต
กระบวนการเทคโนโลยีเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา โดยการใช้ความคิดริเริ่มอย่างสร้างสรรค์และรอบคอบ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ตามความต้องการของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมและงานอาชีพ มีหลักการดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่ได้จากเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งทางด้านคุณภาพ รูปแบบ วัสดุ ความสะดวกในการใช้ ความคุ้มค่า โดยก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีใดมาใช้นั้น ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ ควรนำคุณลักษณะทั่วไป คุณลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีมาศึกษาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจเลือก
2. เมื่อมีการเลือกใช้เทคโนโลยีสำหรับการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์แล้ว ย่อมต้องมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามมาด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการต้องศึกษาทบทวนว่าเทคโนโลยีที่กำหนดใช้นั้นมี ข้อดี ข้อเสียและผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะได้รับนั้นเป็นอย่างไร
3. ตัดสินใจเลือกและใช้เทคโนโลยีที่มีผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในทางสร้างสรรค์มากที่สุด
การจัดการการตลาด
การจัดการการตลาด หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้านธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการผลิต การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การวิจัยการตลาด การส่งเสริมการขาย การทำฐานข้อมูลลูกค้า การกระจายสินค้า การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย ตลอดจนการดำเนินกิจการทุกอย่างเพื่อสนองความต้องการ และบริการให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคพอใจ ทั้งในเรื่องราคาและบริการ
การจัดการการตลาดเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
การโฆษณา หมายถึง การนำเสนอหรือส่งเสริมความคิดในการขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่อต่างๆ มีผู้อุปถัมภ์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยมีวัตถุประสงค์ของการโฆษณา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าและงานบริการ เป็นการให้ข่าวสารและชักจูงให้ซื้อสินค้าและซื้อบริการสื่อที่ใช้ในการโฆษณามีหลายประเภท เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา การโฆษณาทางไปรษณีย์ เป็นต้น สื่อโฆษณาแต่ละประเภทจะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกสื่อโฆษณาควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
2) สื่อนั้นมีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด
3) เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างลูกค้ากับผู้ผลิต เพื่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธา
ความคิดเห็น ทัศนคติที่ดีต่อองค์การ การประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ข่าวแจกสำหรับเผยแพร่ การแถลงข่าว
การส่งเสริมการขาย หมายถึง กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดนอกเหนือจากการโฆษณาการขายโดยบุคคล และการประชาสัมพันธ์ เป็นการช่วยกระตุ้นความสนใจ การซื้อของผู้บริโภคหรือบุคคล
อื่นในช่องทางการจัดจำหน่าย การจัดแสดงในงานแสดงสินค้า การแจกของแถม การลดราคา การชิงโชค การแข่งขัน การแจกคูปอง
การวิจัยการตลาด หมายถึง การศึกษาปัจจัยภายนอกและภายในเกี่ยวกับการตลาด ทำให้ผู้ประกอบการมีข้อมูลในการวางแผนการตลาดได้อย่างมั่นใจและสามารถบอกรายละเอียดในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน การวิจัยการตลาดหรือการศึกษาตลาดควรวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคมาปรับใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น